![]() |
ตัวอย่าง : ร่มผ้ากันยูวี |
เชื่อหรือไม่ว่า"ร่ม"สามารถกันรังสี UV ไ้ด้ถึง 99% ร่มไม่ได้มีไว้กันแดดกันฝนได้อย่างเดียวแล้ว ปัจจุบันมีนักวิจัยและพัฒนาร่ม ได้คิดค้นร่มที่สามารถกันรังสี UV ที่เป็นภัยร้ายต่อผิวของมนุษย์ได้ และร่มสามารถกันรังสี UV ได้ถึง 99% จริงๆ
แล้วเจ้ารังสี UV มีชนิดใดบ้าง แล้วมีวิธีป้องกันไหม ? บางท่านอาจจะยังไม่ทราบนะครับอย่ารอช้าเราไปดูกันครับว่า รังสี UV มีชนิดใดบ้าง
1. รังสี UV - A เป็นรังสีที่มีช่วงคลื่นยาว ทำให้ผิวหนังมีสีคล้ำมากขึ้น ผิวจะแดง แต่น้อยกว่า UV -B เพราะรังสีจะผ่านทะลุเข้าไปทั้ง
ชั้นหนังกำพร้า และชั้นหนังแท้ซึ่งทำอันตรายต่อโครงสร้างและเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นรวมทั้งช่วยเสริมฤทธิ์ของ UV -B
ทำให้เกิดเป็นอันตรายต่อผิวหนังมากขึ้น
ชั้นหนังกำพร้า และชั้นหนังแท้ซึ่งทำอันตรายต่อโครงสร้างและเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นรวมทั้งช่วยเสริมฤทธิ์ของ UV -B
ทำให้เกิดเป็นอันตรายต่อผิวหนังมากขึ้น
2. รังสี UV - B เป็นรังสีช่วงคลื่นสั้นกว่า จะผ่านทะลุชั้นหนังกำพร้า และหนังแท้ชั้นบนเท่านั้น ทำให้เกิด SUNBURN ซึ่งมีอาการผิวบวมแดง
และอาจพองปวดแสบร้อน ผิวไหม้และแห้ง กร้านคล้ำซึ่งเมื่อผิวถูกแดดเผาเป็นประจำจะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
และอาจพองปวดแสบร้อน ผิวไหม้และแห้ง กร้านคล้ำซึ่งเมื่อผิวถูกแดดเผาเป็นประจำจะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
![]() |
ร่มเคลือบสารกันรังสี UV จะสามารถป้องกันรังสี UV จากแสงแดดได้ = SPF 60+ |
สำหรับวิธีป้องกันสามารถทำได้โดยการหลีกเลื่ยงการตากแดดในช่วงเวลาที่มีรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตมากๆ คือเวลาประมาณ 10.00-15.00 น. หากจำเป็นต้องตากแดดก็ควรปกปิดผิวพรรณด้วยการใส่เสื้อแขนยาว คอปิด หรือใส่หมวกปีกกว้าง หรือทาครีมกันแดด หรือพกร่มที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่นที่กล่าวดังต่อไปนี้ จะเป็นร่มพับที่มีความสามารถในการป้องกันรังสี UV ระดับ ของค่า SPF=60+
ได้อย่างสบาย และสามารถลดความร้อนได้ถึง 40 เปอร์เซ็น ลักษณะสวยงาม
ออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานพกพาสะดวก
บางคนที่ไม่ชอบที่จะทาโลชั่นกันแดดสามารถนำร่มพับนี้ติดตัวได้ตลอด เพราะแม้จะอยู่ใต้ร่มไม้หรือชายคาบ้านก็ยังมีโอกาส ได้รับรังสี UV เหมือนกับเวลาที่อยู่กลางแดด เพราะพื้นทราย พื้นน้ำ พื้นคอนกรีต สามารถสะท้อนรังสี UV เข้าสู่ผิวกายได้ หรือแม้กระทั้ง ในวันที่มีเมฆหมอกหนาก็ยังคงต้องกางร่มเพราะเมฆหมอกไม่สามารถป้องกันรังสี UV ได้
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากบทความของ
พญ. พิมลพรรณ กฤติยรังสรรค์
สถาบันโรคผิวหนัง
สถาบันโรคผิวหนัง
Credit By: Leoumbrella,Thaiocean,Thaiumbrella
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น